วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมห้องสมุด

กิจกรรมห้องสมุด

กิจกรรมห้องสมุด

กิจกรรมห้องสมุด หมายถึง งานที่ห้องสมุดจัดขึ้นเป็นครั้งคราวหรือจัดเป็นประจำ เพื่อส่งเสริมการอ่าน การศึกษาค้นคว้าของครูและนักเรียน เช่น การจัดนิทรรศการ การแนะนำหนังสือ การจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ฯลฯ หรือจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการใช้ห้องสมุด ได้แก่การจัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุด การปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด ฯลฯความสำคัญของกิจกรรมห้องสมุด กิจกรรมห้องสมุด มีความสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้าให้กับผู้ใช้ห้องสมุด แม้ห้องสมุดจะมีความพร้อมทั้งด้านอาคาร สถานที่และบุคลากร แต่ถ้าหากไม่มีผู้เข้าใช้บริการถือเป็นการลงทุนที่สูญเปล่า ดังนั้น การจัดกิจกรรม เพื่อจูงใจให้มีผู้ใช้เข้าห้องสมุดได้มีโอกาสเข้าถึงหนังสือและวัสดุสารนิเทศต่างๆ ให้นักเรียนตระหนักเห็นความสำคัญของการอ่าน รักการอ่านและรู้คุณค่าของหนังสือ
ประเภทกิจกรรมห้องสมุด กรมวิชาการ (๒๕๓๖ : ๒๕๘) แบ่งกิจกรรมห้องสมุดเป็น ๔ ประเภท ได้แก่
. กิจกรรมส่งเสริมความรู้เรื่องห้องสมุด เช่น การนำชมห้องสมุด แนะนำการใช้บัตรราย-การ แนะนำวิธีดูแลรักษาหนังสือ
. กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เช่น การเล่านิทาน การเสนอหนังสือ การตอบปัญหาจากหนังสือ การแสดงนาฎกรรม และอื่น ๆ การใช้เกมเพื่อนไปสู่การอ่าน
. กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน เช่น การจัดนิทรรศการ การทำบรรณานุกรม การ-ตอบปัญหา การแข่งขัน และการประกวด เช่น ประกวดเรียงความ ประกวดวาดภาพ ประกวดคำ-ประพันธ์ ฯลฯ
. กิจกรรมส่งเสริมความรู้ทั่วไป และการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น การฉายภาพนิ่ง การฉายภาพยนตร์ การฉายวิดีทัศน์ การจัดนิทรรศการ การอภิปราย การโต้วาที การสนทนา
รูปแบบกิจกรรมห้องสมุด กิจกรรมห้องสมุดที่น่าสนใจและนิยมจัดในห้องสมุดโรงเรียน มีดังนี้ ๑. การจัดนิทรรศการ การจัดนิทรรศการต้องกำหนดจุดมุ่งหมาย ระยะเวลา สถานที่ และโอกาสที่เหมาะสม และควรเลือกเรื่องที่ตรงกับความสนใจ ทันสมัย และเป็นประโยชน์กับผู้ใช้ (ศึกษารายละเอียดจากใบความรู้ที่ ๑๓ เรื่อง การจัดนิทรรศการ)
. การเสนอหนังสือ เป็นการเร้าใจให้อยากอ่าน และอยากรู้เรื่องในที่มีในหนังสือ เป็นการทำเพื่อสร้างทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับหนังสือ การเสนอหนังสืออาจทำได้หลายลักษณะ เช่น
.๑ การเล่าเรื่องหนังสือ
.๒ การแนะนำหนังสือ
.๓ การอภิปรายเรื่องหนังสือ
.๔ การสนทนาเกี่ยวกับหนังสือ
.๕ การทายปัญหาจากหนังสือ
. การแสดงหนังสือใหม่ การนำหนังสือที่ห้องสมุดได้รับมาใหม่ และน่าสนใจนำมาจัดนิทรรศการ เช่น หนังสือที่ได้รับรางวัลดีเด่น หนังสือของผู้แต่งบางคน มีการจัดทำบรรณนิทัศน์ และรายชื่อหนังสือประกอบนิทรรศการ อาจจัดแสดงบนโต๊ะ บนชั้น หรือตู้นิทรรศการ
. การแสดงละคร การแสดงหุ่น จากหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่ง จัดให้ชมพร้อมกับแนะนำหนังสือ โดยให้นักเรียนอ่านหนังสือหรือวรรณคดีเล่มนั้น ๆ และช่วยกันแต่งบทละครจากหนังสือ ให้นักเรียนสมมติเป็นตัวละครในเรื่อง กำหนดวันแสดงในวันปิดภาคหรือโอกาสสำคัญ ๆ
. การจัดวรรณกรรมสาธิต หมายถึง การแสดงต่าง ๆ เช่น ละคร การเชิดหุ่น โดยนำเรื่องจากวรรณกรรมหรือวรรณคดีที่มีชื่อเสียงมาจัดแสดง เพื่อส่งเสริมการอ่านและพัฒนานิสัยรักการ-อ่านการศึกษาค้นคว้าของนักเรียน
. การแข่งขันหรือประกวดเกี่ยวกับการอ่าน เช่น การตอบปัญหาสารานกรมไทยสำหรับเยาวชน แข่งขันโต้วาที การประกวดยอดนักอ่าน การเรียงความ การเล่านิทาน การประกวดสิ่ง-ประดิษฐ์ต่าง ๆ ซึ่งผู้เข้าประกวดอาจได้แนวคิดจากการอ่านหนังสือในห้องสมุด เป็นต้น
. เกมการอ่าน เกมคอมพิวเตอร์ เกมทายปัญหา เกมค้นหาคำศัพท์ ฯลฯ
. กิจกรรมอื่น ๆ เช่น การจัดฉายภาพยนต์ จัดฉายวีดิทัศน์ การใช้เกมเพื่อส่งเสริมการ-อ่าน ฯลฯ
นอกจากกิจกรรมต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ห้องสมุดสามารถจัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้อีก แล้วแต่โอกาส ทั้งนี้ ควรวางแผนจัดตารางกิจกรรมไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามตามความเหมาะสม กำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน เลือกหัวข้อให้เหมาะกับวัย พิจารณาระยะเวลา งบ-ประมาณ สถานที่ เพื่อให้การจัดกิจกรรมบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
การจัดนิทรรศการ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ..๒๕๒๕. (๒๕๓๘ : ๔๔๖) ให้ความหมายว่านิทรรศการ น. การแสดงผลงาน สินค้าผลิตภัณฑ์ หรือกิจกรรมให้คนทั่วไปชม (. Exhibition)
นิทรรศการ คือ การจัดแสดงผลงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้บุคคลได้รู้เห็น ถือเป็นการให้ การศึกษาอย่างหนึ่ง ด้วยการนำของจริง สิ่งจำลอง ภาพถ่ายและแผนภูมิสิ่งของต่าง ๆ มาจัดแสดง เพื่อก่อให้เกิดความรู้ และผู้ชมได้ข้อมูล สถานที่จัดจะเป็นภายนอกหรือในอาคารก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และความพร้อมของผู้จัด
วัตถุประสงค์ของการจัดนิทรรศการห้องสมุด ฉวีวรรณ คูหาภินันท์ (๒๕๔๒ : ๒๗๖) อธิบายว่า การจัดนิทรรศการเป็นกิจกรรมส่งเสริมการอ่านประเภทหนึ่งที่มีจุดมุ่งหมาย ดังนี้
. กระตุ้นและดึงดูดความสนใจให้อยากอ่านหนังสือและสื่อการอ่านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องที่จัดนิทรรศการ
. เป็นการแนะนำให้รู้จักอ่านหนังสือในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตร เพื่อเพิ่มพูนความรู้ทั้งในด้านการศึกษาเล่าเรียน และความรู้เพื่อพัฒนาอาชีพ
. เพื่อแสดงให้ผู้อ่านทราบว่า มีหนังสือใหม่ ๆ หรือสื่อการอ่านใหม่ ๆ ที่ทันสมัยในห้อง-สมุดที่ผู้อ่านจะได้มายืนอ่านหรือมาใช้บริการในห้องสมุดได้
.เพื่อแนะนำหนังสือและสื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญ วันสำคัญในรอบปี เทศกาลและประเพณีสำคัญต่าง ๆ บุคคลสำคัญที่มีชื่อเสียง ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ตลอดจนนักประพันธ์ที่มีผลงานดีเด่น ที่ผู้อ่านควรจะได้อ่าน เป็นการเพิ่มพูนความรู้และขยายโลกทัศน์ของผู้อ่านให้กว้างขวางยิ่งขึ้น


ประเภทของนิทรรศการ
การจัดนิทรรศการสามารถแยกได้ ๓ ประเภท ดังนี้
. นิทรรศการถาวร หมายถึง การจัดนิทรรศการระยะยาว เช่นในพิพิธภัณฑ์ หรือหอศิลป์ที่มีผลงานติดตั้งไว้เป็นการถาวร
. นิทรรศการชั่วคราว หมายถึง การจัดนิทรรศการเป็นครั้งคราวในระยะเวลาสั้น ๆ
. นิทรรศการเคลื่อนที่ มีจุดมุ่งหมายเดียวกับนิทรรศการชั่วคราว กล่าวคือจัดในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่หมุนเวียนไปตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น พิพิธภัณฑ์เคลื่อนที่ รถประชาธิปไตยเคลื่อนที่ ฯลฯ
องค์ประกอบของการออกแบบนิทรรศการ (สารานุกรมศึกษาศาสตร์ฉลองสิริราชย์สมบัติครบ ๕๐ ปี. ๒๕๔๐: ๓๙๘ - ๓๙๙) มีอยู่ ๒ ประการ คือ
. ลักษณะโครงสร้างหรือรูปแบบ หมายถึง ภาพรวมของสถานที่ การจัดวางตำแหน่งสิ่งของที่จะแสดงตลอดจนการตกแต่ง เพื่อให้เกิดความสวยงาม น่าสนใจ ซึ่งมีหลักการสำคัญ ดังนี้
.๑ ความกลมกลืน (Harmony) ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีลักษณะได้ รับกันและเป็นชุดเดียวกัน
.๒ ความสมดุล (Balance) การจัดวางสิ่งของที่จะแสดง การให้สี หรือส่วนประกอบต่าง ๆ ควรจัดให้มีความสมดุลกัน ทำให้ผู้ชมเกิดความสบายตา
.๓ จังหวะ (Rhythm) การวางสิ่งของที่นำมาแสดงให้เกิดลีลา จังหวะต่าง ๆ ซึ่งขั้นอยู่กับดุลยพินิจของผุ้จัด
.๔ การเน้น (Dominance) การจัดให้มีส่วนที่เด่น สะดุดตา อาจเน้นด้วยข้อความ หรือสิ่งของหากเส้นทุกจุดจะทำให้เกิดความสับสนในการมองและทำให้ขาดความสวยงาม
.๕ สัดส่วน (Proportion) ความเหมาะสมของสิ่งต่าง ๆ ที่นำมาแสดงควรมีสัดส่วนที่เหมาะสม ไม่แน่นจนเกินไป
. เนื้อหาสาระ หมายถึง สาระความรู้ที่จะนำเสนอในแง่มุมต่าง ๆ เป็นการเผยแพร่ และสื่อสารแก่ผู้ชม ดังนั้น การออกแบบนิทรรศการควรเน้นการนำเสนอความรู้ที่มีระบบ จัดลำดับเนื้อหา ความเชื่อมโยงต่อเนื่องสามารถสื่อสารได้ตรงประเด็น มีรูปแบบที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย
แนวทางการวางแผนจัดนิทรรศการ

วางโครงเรื่อง
วัสดุเฉพาะเรื่อง
จัดเป็นแบบทางการหรือไม่
สีพื้น, สีกระดาษ ฯลฯ
สะอาด อ่านง่าย ชัดเจน
พิจารณาโอกาส กาลเทศะในการจัด
พยายามใช้ภาพช่วยสื่อเรื่องราว
ใช้สี และตกแต่งให้สวยงาม
ซ่อนอุปกรณ์ที่ใช้ให้มิดชิด เช่น เข็มหมุด เทปกาว ฯลฯ
ออกแบบให้น่าสนใจ



เลือกหัวข้อ
เลือกวัสดุที่ต้องการ
วางแผนเตรียมการ
การกำหนดสีที่ใช้
ตัวอักษร
บรรยากาศ
เข้าใจง่าย
เพิ่มการดึงดูดสายตา
ความเรียบร้อย
ความคิดริเริ่ม

หัวข้อที่ควรจัดนิทรรศการ ๑. นิทรรศการหนังสือใหม่ ห้องสมุดได้รับหนังสือใหม่ จัดแสดงหนังสือใหม่เพื่อประชา-สัมพันธ์ หรือแนะนำหนังสือเฉพาะเรื่อง จูงใจให้ผู้ใช้สนใจและอยากอ่านหนังสือมากยิ่งขึ้น
. นิทรรศการวันสำคัญตามเทศกาล ตามวาระหรือโอกาสต่าง ๆ เช่น วันสำคัญทาง-ศาสนา วันสหประชาชาติ วันสุนทรภู่ วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันไหว้ครู วันเด็ก วันครู วันวิทยา-ศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งห้องสมุดสามารถเลือกจัดได้ทุกเดือน
. นิทรรศการเหตุการต่าง ๆ ที่น่าในใจในรอบปี เช่น ฟุตบอล กีฬาโอลิมปิก สิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ธรรมชาติ เป็นต้น
. นิทรรศการเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนสาขาวิชาต่าง ๆ ตามหลักสูตร เช่น โรคเอดส์ การผสมเทียม วันสิ่งแวดล้อมโลก วัยรุ่นกับบุหรี่ นางในวรรณคดี อาหารไทย ประวัติพระพุทธรูป สงครามโลก ภาษาไทยวันนี้ หนังสือเล่มนี้ดีอย่างไร เรียนดี เรียนเก่ง ฯลฯ นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้จากการชมนิทรรศการ
การจัดนิทรรศการห้องสมุดแต่ละครั้งนั้น เพื่อนำไปสู่การอ่าน ควรให้นักเรียนจัดทำบรรณานุกรม และบรรณนิทัศน์ของหนังสือแต่ละเล่มที่นำมาแสดงประกอบนิทรรศการ มอบหมายให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการจัด เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบรรณารักษ์กับนักเรียน

ป้ายนิเทศที่ดี